Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลส่วนตัว


นางสาวธิมาภรณ์ ปาละศรี
รหัสนิสิต 52011812022
คณะ สัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์
สาขา สัตวแพทยศาสตร์
วิชา คอมพิวเตอร์และการนำเสนอ
กลุ่มเรียนที่ 2

อาหารเกาหลี







อาหารนานาชนิดมากหลายพบได้ในประเทศเกาหลี แรกเริ่มเดิมทีเกาหลีเป็นประเทศเกษตรกรรม และชาวเกาหลีเพาะปลูกข้าวเป็นอาหารหลักมาตั้งแต่โบราณกาล มาในสมัยนี้อาหารเกาหลีจะเป็นตำหรับซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์นานาชนิด ปลา พร้อมด้วยพืชสีเขียวและผักต่างๆ อาหารหมักดองต่างๆ เช่น กิมจิ จอทกอล (jeotgal) (อาหารทะเลหมักเกลือ) และ ดนจัง (deonjang) (ถั่วเหลืองหมักเหลว) ขึ้นชื่อในรสชาติโดยเฉพาะและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จุดเด่นในการตั้งโต๊ะอาหารเกาหลีคืออาหารจานต่างๆ ถูกนำมาจัดวางในคราวเดียวกัน โดยการปฏิบัติสืบทอดกันมา มีการเสิร์ฟอาหารประเภทออร์เดิฟเริ่มจากอาหร 3 ชนิด สำหรับสามัญชนถึง 12 ชนิดสำหรับชนชั้นวงศานุวงศ์ การจัดโต๊ะอาหารต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการเสิร์ฟอาหารจานก๋วยเตี๋ยวหรือเนื้อหรือไม่ มีการแสดงการจัดโต๊ะอาหารตามกฏระเบียบให้ผู้สนใจเรื่องอาหารและการรับประทานอาหารได้เห็น หากจะเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างจีนและญี่ปุ่นแล้วเกาหลีนิยมใช้ช้อนมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเสิร์ฟน้ำซุป
ชนิดของอาหารเกาหลีตามประเพณีนิยม
1. บับ (Bap) ข้าวนึ่ง และจุค (Juk) ข้าวต้ม
ข้าวต้มเป็นอาหารหลักของครัวเกาหลี ส่วนใหญ่ใช้ข้าวเหนียว บางครั้งเป็นพวกถั่ว เกาหลัด ข้าวฟ่าง ถั่วแดง ข้าวบาเลย์ หรือ ธัญญพืชชนิดต่างๆประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางโภชนาการ ข้าวต้มถือว่าเป็นอาหารบำรุงและเป็นอาหารเบา มีข้าวต้มหลากหลายชนิด อาทิเช่น ชนิดที่ทำด้วยข้าวและมีส่วนผสม ด้วยถั่วแดง ฟักทอง หอยเป๋าฮื้อ โสม ลูกสน ผัก เนื้อไก่ เห็ด และถั่วงอก

2. กุก (Guk) ซุป
ซุปเป็นอาหารจานสำคัญเมื่อมีข้าวมาเสิร์ฟ เครื่องปรุงของซุปชนิดต่างๆมีผัก เนื้อสัตว์ ปลา หอยเชลล์ สาหร่ายทะเล และกระดูกวัว


3. จิเก (Jjigae) สตูว์
ชิแจคล้ายกับกุกแต่ข้นกว่าและแห้งกว่า ชิแจที่เป็นที่นิยมมากที่สุดทำจากเต้าเจี้ยว ชิแจมักจะเผ็ดร้อนเสิร์ฟขณะร้อนจัดในชามหินร้อน


4. จิม และ ชอริม (Jjim and Jorim) เนื้อหรือปลาตุ๋น
จิมและชอริมเป็นอาหารคล้ายกันทำด้วยผักชุปซอสถั่วเหลืองแล้วนำมาเป็นส่วนผสมต้มในไฟอ่อน


5. นามุล (Namul) พืชและผักใบเขียว
นามุลทำด้วยพืชหรือผักใบเขียวนำมาต้มเพียงเล็กน้อยหรือทอดผสมกับเกลือ ซอสถั่วเหลือง งาเค็ม น้ำมันงา กระเทียม หัวหอม และเครื่องเทศ


6. จอทกอล (jeotgal) อาหารทะเลหมักเกลือ
จอทกอลเป็นอาหารรสเค็มจัดทำจากปลาหมักโดยวิธีธรรมชาติ หอยเชลล์ กุ้ง หอยนางรม ไข่ปลา พุงปลา และเครื่องปรุงอื่นๆ


7. กุย (Gui) ประเภทปิ้งย่าง
การทำกุยคือการนำเนื้อหมักย่างบนเตาถ่าน อาหารเนื้อชนิดนี้ที่เป็นที่นิยมคือ พุลโกกิ (bulgogi) และ คาลบิ (galbi) ยังมีอาหารจานปลาอีกหลายอย่างที่ปรุงด้วยวิธีนี้


8. เชิน (jeon) จานกระทะร้อน
เชินเป็นแพนเค้กชนิดหนึ่งที่ทำจากเห็ด ฟักทอง ปลาแห้งแผ่น หอยนางรม พริกเขียว เนื้อสัตว์ หรือเครื่องปรุงอื่นๆ ผสมกับเกลือและพริกไทยดำก่อนนำไปชุปแป้งและไข่แล้วทอด


9. มันดู (Mandu) ประเภทยัดไส้
มันดูทำด้วยแป้งแผ่นยัดไส้เนื้อ เห็ด แตงทอด ถั่วงอก บางครั้งใช้เนื้อหมู เนื้อไก่ หรือปลา แทนเนื้อ


อาหารขึ้นชื่อของเกาหลี
แนะนำเมนูจานเด็ด

กิมจิ (Kimchi - ผักดองเกาหลี)
ส่วนผสม: กะหล่ำปลี (หรือหัวไชเท้า แตงกวา และผักอื่นๆ) หัวไชเท้าหั่นเป็นเส้น กระเทียมสับ หัวหอมหั่นลูกเต๋า ปลาเค็ม และเกลือ

วิธีการทำ: กะหล่ำปลีหรือผักอื่นๆล้างด้วยน้ำเกลือมากๆ ปรุงรสด้วยเครื่องเทศและหมักไว้ มีกิมจิหลายอย่าง เช่นกิมจิกะหล่ำปลี (เป็นที่ทราบโดยทั่วไป) กิมจิแตงกวา กิมจิหัวไชเท้าหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า กิมจิหัวหอม และอื่นๆอีกมาก เป็นอาหารสุขภาพมีทั้งวิตามินและเกลือแร่หลายชนิด

บิบิมบับ (Bibimbap - ข้าวต้มผสมผัก)

ส่วนผสม: ข้าว, ใบเฟิร์นเบรก, รากดอกบอลลูน, ถั่วงอก, เนื้อวัว, พริกแดงบด, และน้ำมันงา

วิธีการทำ:: ข้าวสวยผสมด้วยผักต่างๆต้มสุก ดีสำหรับการชิมรสผักต่างๆ ช่วยบำรุงสายตาและมีคุณค่าทางโภชนาการ วิธีการทำบิบิมบับในหลายๆตำหรับของเมืองชองชู ได้รับความนิยมมาก

พุลโกกิ (Bulgogi - เนื้อวัวหมักย่าง)
ส่วนผสม: เนื้อวัว (หรือเนื้อหมู) น้ำลูกแพหรือน้ำตาล ซอสถั่วเหลือง กระเทียมสับ หัวหอมหั่นลูกเต๋า น้ำมันงา

วิธีการทำ: หั่นเนื้อหรือหมูเป็นชิ้นบางๆ แล้วหมักกับเครื่องปรุงต่างๆก่อนนำไปย่าง
คาลบิย่าง (Grilled Galbi - เนื้อซี่โครงปรุงรส)
ส่วนผสม: เนื้อซี่โครงวัว (หรือหมู) น้ำตาล ซอสถั่วเหลือง หัวหอมหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า กระเทียมสับ น้ำมันงา

วิธีการทำ:: ซี่โครงวัวหรือหมูหั่นเป็นชิ้นพอคำ นำไปหมักกับเครื่องปรุงรสก่อนนำไปย่าง กาลบิของซูวอนได้รับความนิยมมาก

ซัมแกทัง (Samgyetang - ซุปไก่)
ส่วนผสม: เนื้อไก่อ่อน ข้าว กระเทียม เกาลัด พุทรา

วิธีการทำ:: ล้างไก่แล้วยัดใส้ด้วยเครื่องปรุงแล้วนำไปต้มจะได้น้ำซุปที่ได้รสชาติ



เน็งเมียน (Naengmyeon - ก๋วยเตี๋ยวทำด้วยแป้งบัควีท ในน้ำซุปเย็น)
ส่วนผสม: เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำซุปเนื้อ เนื้อวัวหั่นบางๆ แตงกวา ลูกแพ ไข่ต้มสุก

วิธีการทำ:: ก๋วยเตี๋ยวใส่ในน้ำซุปเนื้อแช่เย็น น้ำซุปทำให้สดชื่น ยังมี บิบิมแนงเมียน (bibim naengmyeon) ซึ่งไม่ใส่น้ำซุปแต่แทนด้วยพริกแดงบด


แฮมุลทัง (Haemultang - สตูว์อาหารทะเล)
ส่วนผสม: เนื้อปู หอย กุ้ง ปลา หัวไชเท้า พริกแดงบด พริกป่น หัวหอม กระเทียม

วิธีการทำ:: ต้มอาหารทะเลทั้งหมดแล้วเติมพริกแดงบดและพริกป่น น้ำซุปอร่อยและเผ็ดร้อนมาก


กิมจิ จิเก (Kimchi jjegae - กิมจิสตูว์)
ส่วนผสม: กิมจิ เนื้อหมู น้ำมันงา หัวหอม พริกไทย

วิธีการทำ:: นาบเนื้อหมูกับหม้อจนเป็นสีน้ำตาล ก่อนใส่น้ำและกิมจิ ถ้าใช้กิมจิชนิดเปรี้ยว สตูว์จะอร่อยกว่า


ทัคคาลบิ (Dakgalbi - ซี่โครงไก่)
ส่วนผสม: เนื้อไก่ พริกแดงบด น้ำลูกแพ น้ำเชื่อม น้ำตาล กระเทียมสับ หัวหอมหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า

วิธีการทำ:: ปรุงรสเนื้อไก่ด้วยเครื่องเทศต่างๆ แล้วนำไปย่าง โครงไก่ชุนชอน (Chuncheon) มีชื่อเสียงมาก


ซอลลองทัง (Seolleongtang - ซุปกระดูกวัว)
ส่วนผสม: ข้าว เนื้อวัว ซุปเนื้อวัว หัวหอมหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า กระเทียมสับ พริกป่น พริกไทย เกลือ

วิธีการทำ:: ใส่เนื้อวัวในน้ำซุปเนื้อแล้วต้มด้วยไฟอ่อนนานๆ ก่อนเสิร์ฟด้วยข้าวและเครื่องปรุงรสอื่นๆ เพื่อให้น้ำซุปเข้มข้นและอร่อยให้ต้มต่อไปประมาณกว่า 10 ชั่วโมง


คาลบิทัง (Galbitang - ซุปซี่โครงวัว)
ส่วนผสม: ซี่โครงวัว(หรือหมู) หัวไชเท้า หัวหอมหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า กระเทียมสับ พริกไทย น้ำมันงา เมล็ดงา

วิธีการทำ:: ซี่โครงต้มพร้อมหัวไชเท้าเพื่อให้เป็นซุปที่มีรสชาติ ถ้ารับประทานพร้อมข้าวน้ำซุปจะอร่อยมาก

จุค (Juk - ข้าวต้ม)
ส่วนผสม: ข้าวชนิดต่างๆ

วิธีการทำ:: ใส่น้ำ (ประมาณ 6 หรือ 7 เท่าของปริมาณข้าว) ต้มนานๆ มีการแปรรูปยุคหลายๆอย่างเช่น ข้าวต้มลูกสน ข้าวต้มงา ข้าวต้มพุทรา ข้าวต้มถั่วแดง ข้าวต้มเนื้อ ข้าวต้มฟักทอง ข้าวต้มหอยเป๋าฮื้อ และอื่นๆอีกมาก

การละเล่นตามประเพณี




การเล่นว่าว
การเล่นว่าวเป็นการละเล่นแบบชาวบ้าน ว่าวรูปสี่เหลี่ยม (ย็อน) ทำขึ้นด้วยการขึงไม่ไผ่บนแผ่นกระดาษ ชังโฮจิ ตามขวางและเย็บเข้าติดกันเพียงเท่านี้ ว่าวก็พร้อมจะถูกปล่อย ให้ลอยขึ้นไปในท้องฟ้า

การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในวันประเพณีต่าง ๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติหรือวันฉลองอื่นของชาวบ้าน มีการชิงชนะเลิศการเล่นว่าวไปหลาย ๆ เมืองในเกาหลี
นอลตุยกี (กระดานหก)
กระดานหกเป็นประเพณีการละเล่นแบบชาวบ้านสำหรับสุภาพสตรี วิธีการก็คล้ายกับม้ากระดกแบบตะวันตกนั่นคือ มีแผ่นไม้ยาว ซึ่งส่วนกลางจะตั้งอยู่บนกองฟางที่แห้งแข็ง ผู้เล่นจะมี 2 คน โดยแต่ละคนจะผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้าง การละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณีต่าง ๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซก หรือวันทาโน๊ะ

คีเนตุยกี (ชิงช้า)
ชิงช้านี้ก็เป็นการละเล่นแบบชาวบ้านอีกอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในหมู่สุภาพสตรี เช่นเดียวกับนอลตุยกี และนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะคึเนซึ่งเป็นชิงช้าของเกาหลีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้นผูกติดกับแผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูง หรือผูกติดกับไม้ซุง ซึ่งต่อเป็นคาน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าคึเนนี้ไปได้สูงทีเดียว คึเนตุยกีจึงเป็นการละเล่นที่ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยเล่นกันในระดับประเทศ
พาดุก
พาดุกเป็นการละเล่นแบบกระดานโดยมีผู้เล่น 2 คน ในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า "โก" หรือหมากล้อม และได้รับความนิยมเล่นอย่างแพร่หลาย ในภาคตะวันออกไกล และทั่วโลกซึ่งผลัดกันวางหมากสีขาวและสีดำลงบนกระดาน พาดุกบัดนี้กลายเป็นการละเล่นสากลไปแล้ว และเล่นยากกว่าหมากรุก
ชางกี (หมากรุกเกาหลี)


ชางกีเป็นการละเล่นแบบกระดานคล้ายหมากรุก ซึ่งต้องมีผู้เล่น 2 คน เช่นเดียวกับหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ย อื่น ๆ แต่คงไม่เคยเห็นช้างและปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในหมากรุก การละเล่นนี้และพาดุก ถือว่าเป็นการละเล่นแบบต้องใช้ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีต่าง ๆ ในการเอาชนะคู่ต่อสู้
ยุทนอริ (การละเล่นแบบไม้ 4 แท่ง)
ยุทนอริเป็นหนึ่งในการละเล่นที่นิยมเล่นกันในเดือนมกราคมในจันทรคติ และเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ ๆ ยุท เป็นคำ ๆ หนึ่งในเกมส์นี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า "สี่" เกมส์มีความคล้ายคลึงกับ เกมส์พาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม ซึ่งจะเดินหมากไปรอบ ๆ หลังจากการโยนไม้

วัฒนธรรมเกาหลี

ประเทศเกาหลีเป็นคาบสมุทรที่ทอดตัวลงใต้จากศูนย์กลางชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปเอเชีย คาบสมุทรเกาหลีประกอบด้วยพื้นที่ประมาณ 220,000 ตารางกิโลเมตรกับเกาะใหญ่น้อยประมาณ 3,400 เกาะเรียงรายตลอดชายฝั่ง

ณ เวลานี้ประเทศเกาหลีเป็นประเทศเดียวในโลกที่ยังคงถูกแบ่งแยกตามภูมิศาสตร์และลัทธิการปกครอง มีประชากรทั้งหมดประมาณเจ็ดสิบล้านคนทั้งในประเทศเกาหลีเหนือและใต้ และไม่นานมานี้เองที่มีความก้าวหน้าที่เด่นชัดหลายประการในการร่วมมือและรวมประเทศเข้าด้วยกัน

คำว่า "เกาหลี" นี้ใช้อ้างอิงทั้งประเทศเกาหลีเหนือและใต้ ประเทศเกาหลีใต้ ณ ที่นี้ หมายถึงสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งมีประชากร 48 ล้านคนในจำนวนนี้ 10 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโซลซึ่งเป็นเมืองหลวง กรุงโซลนั้นประการศักดาว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน 600 ปี และในปี 1988 ก็มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่าเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 24 ประเทศเกาหลีเป็นเป้าแห่งความสนใจจากทั่วโลกอีกครั้งเมื่อได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศญี่ปุ่นในการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002

ประเทศเกาหลีมีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงาม จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาชาวเกาหลีเองได้เรียกผืนแผ่นดินแห่งนี้ว่า คึมซูกังซาน (geumsugangsan) หรือ "ผืนพรมทองแห่งแม่น้ำและภูเขา" ความน่าพิศวงของผืนแผ่นดินนี้ถ่ายทอดผ่านแต่ละช่วงฤดูกาลด้วยทัศนียภาพที่แตกต่างกันไป ภูมิอากาศของเกาหลีซึ่งแบ่งออกเป็นฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวนั้นมีความแตกต่างกันมากทีเดียว คือช่วงฤดูหนาวโดยปกติจะกินเวลายาวนาน ฤดูร้อนสั้นกว่า และฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สั้นที่สุด ช่วงเวลาฝนตกจะเป็นระหว่างฤดูร้อนในช่วงเดือนมิถุนายน

ชุดแต่งกายตามประเพณีของชาวเกาหลีคือ ฮันบก (Hanbok) ชุดที่ใช้แต่งกายในฤดูหนาวนั้นใช้ผ้าที่ทอจากฝ้ายและกางเกงยาวที่มีสายรัดที่ข้อเท้าซึ่งช่วยในการเก็บความร้อนของร่างกาย ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนจะใช้ผ้าป่านลงแป้งแข็งหรือผ้ารามีซึ่งช่วยในการซึมซับและการแผ่ซ่านของความร้อนในร่างกายให้มากที่สุด

อาหารเกาหลีก็ได้รับการพัฒนาเพื่อตอบรับกับภูมิอากาศ ในภูมิภาคที่ฤดูหนาวกินเวลานาน เทคนิคการถนอมอาหารพิเศษได้ถูกวิวัฒน์ขึ้นเพื่อเก็บรักษาวิตามินในสูตรอาหารประเภทผัก กิมจิเป็นตัวอย่างอันเป็นสัญลักษณ์ของอาหารหมักดอง ความจริงที่ว่ากิมจิจะมีรสเค็มขึ้นถ้าใครนำมันจากทางเหนือที่หนาวเย็นมาสู่ทางใต้ที่อบอุ่นกว่านั้นเป็นเกี่ยวข้องกันมากกับลักษณะของอากาศ

อิทธิพลของภูมิอากาศยังบ่งบอกถึงสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันของเกาหลี บ้านแบบเกาหลีจะมี ออนดอล (Ondol) ซึ่งทำปฏิกิริยาภายใต้พื้นเพื่อช่วยเพิ่มความร้อนฤดูหนาว และโดยทั่วไปบ้านจะมีหลังคาต่ำ มีห้องเล็กและผนังหนา มีหน้าต่างและประตูเปิดสู่ภายน้อยซึ่งมักจะทำเป็นสองชั้น บ้านเกาหลีโบราณจะมีห้องโถงเปิดพื้นเป็นไม้ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะใช้เวลาส่วนใหญ่ที่นี่ในช่วงฤดูร้อน ห้องสำหรับอยู่อาศัยนั้นโดยปกติจะอยู่กลางบ้านใหญ่ ห้องรับแขกจะอยู่อีกหลังต่างหาก ห้องครัวก็สร้างเป็นหลังต่างหากและถูกออกแบบให้ใช้งานได้หลายอย่างนอกจากการปรุงอาหารเพียงอย่างเดียว

เป็นเวลาไม่นานมานี้เองที่เศรษฐกิจของเกาหลีได้ถูกปฏิรูปไปเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ปี 1960 เกาหลีได้เปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเกษตรกรรมเป็นแบบอุตสาหกรรมที่รุดหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปฏิวัติแปรเปลี่ยนไป การส่งเสริมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การต่อเรือ การคมนาคม และยานยนต์ซึ่งเป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไปทั่วโลก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการคมนาคมและสารสนเทศนั้นเกาหลีในวันนี้ยืนอยู่แถวหน้าของโลก

ชาวเกาหลีได้สร้างวัฒนธรรมที่โดดเด่นผ่านช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนานและมรดกทางวัฒนธรรมอันเด่นเฉพาะตัวก็สามารถพบได้ตลอดคาบสมุทร ชาวเกาหลีให้คุณค่ากับการเรียนรู้และมีชื่อเสียงมากในการอุทิศตนและความมุมานะอุตสาหะ บางทีอาจเป็นเพราะลักษณะเหล่านี้ก็ได้ที่ทำให้พวกเขาสามารถใช้แรงกระตุ้นทางวัฒนธรรมซึ่งนำมาประยุกต์อย่างถี่ถ้วนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

มารยาทแบบเกาหลี

1. การทักทายและการบอก ขอบคุณ เป็นเรื่องสำคัญมากของคนเกาหลี คนเกาหลีมักกล่าวคำทักทายและขอบคุณพร้อมก้มหัวคำนับเสมอ โค้งต่ำระดับไหนนั้นขึ้นอยู่กับความอาวุโสของผู้พูดทั้ง 2 ฝ่าย

2. คนเกาหลีไม่นิยมการแสดงออกโดยเปิดเผยและมักจะจำกัดการถูกเนื้อต้องตัวเพียงแค่การจับมือทักทายกันอย่างสุภาพ อย่างไรก็ตามถ้ารู้จักคนเกาหลีดีขึ้นจะเกิดความคุ้นเคยกันเพิ่มขึ้น ชาวต่างชาติอาจแปลกใจที่เป็นผู้ชายโดยเฉพาะชายหนุ่มเดินตามถนนจับมือโอบไหล่กัน หรือผู้หญิงเดินจับมือกันการสัมผัสร่างกายเพื่อนสนิทขณะที่คุยกันถือว่ายอมรับกันได้ในประเทศเกาหลี แต่การแสดงความรักระหว่างเพศในที่สาธารณะ เช่น กอดและจูบถือว่าไม่สมควร

3. สุขาสาธารณะสะอาดมีอยู่ทั่วประเทศเกาหลี และสามารถใช้ห้องสุขาในอาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านค้า หรือภัตตาคาร

4. ตามประเพณีดั้งเดิมคนเกาหลีนั่งรับประทาน และนอนบนพื้น ดังนั้น จึงควรถอดรองเท้าเสมอ ก่อนเข้าบ้านของคนเกาหลี เมื่อท่านไปเยี่ยมครอบครัวคนเกาหลีที่บ้านท่านควรสวมถุงเท้าหรือถุงน่อง เพราะการนั่งเท้าเปล่าต่อหน้าผู้มีอายุสูงกว่าถือว่าไม่สุภาพ

5. คนเกาหลีไม่ค่อยนิยม แชร์ค่าอาหารกัน ยกเว้นในกรณีพิเศษ ท่านควรเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ที่จะเป็นเจ้าภาพหรือไม่ก็เป็นแขก
6. ตามประเพณีการพูดคุยกันระหว่างมื้ออาหารมากเกินไปถือว่าไม่สุภาพ คนเกาหลีน้อมรับคำชมเกี่ยวกับรสชาติอาหาร และการบริการ การสั่งน้ำมูกในโต๊ะอาหารถือว่าไม่สุภาพ

กีฬาประเพณี
ชาวเกาหลีรักการกีฬาเป็นอย่างมาก 20 ปีมาแล้ว ที่เกาหลีเป็นเจ้าภาพการแข่งขันนานาชาติต่าง ๆ รวมทั้งกีฬาโอลิมปิค ในปี ค.ศ.1988 และฟุตบอลโลก ค.ศ.2002 นอจากนี้นักกีฬาของเกาหลีก็ได้คะแนนยอดเยี่ยมในการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ

นอกจากกีฬาสมัยใหม่เช่นการชิงแชมป์นานาชาติเรือกีฬาฤดูหนาวแล้ว เกาหลียังมีการละเล่นตามประเพณีแบบชาวบ้านและกีฬาแบบต่าง ๆ อันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ การละเล่นหรือกีฬาประเภทนี้จะเล่นกันในโอกาสพิเศษเช่น วัดขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ วันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้าของเกาหลี) หรือวันทาโน๊ะวันที่ 5 เดือน 5 จันทรคติ
การต่อสู้ซีรึม
ซีรึม เป็นหนึ่งในกีฬาประเพณีของเกาหลีที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ การเล่นประกอบด้วยนักกีฬา 2 คน ที่ต้องจับเชือกคาดเอวของคู่ต่อสู้ให้มั่น และใช้พลังของตัวเองโยนคู่ต่อสู้ของตัวให้ลงพื้นให้ได้จึงจะเป็นผู้ชนะ

ในปัจจุบัน ซีรึมเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากในหมู่สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีชาวเกาหลีทั้งหนุ่มสาวและผู้สูงอายุ และทุก ๆ ปีก็จะมีการแข่งขันกีฬานี้บ่อย ๆ
เทควันโดเกาหลี
เทควันโดถือกำเนิดในเกาหลีและปัจจุบันเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก มันคือกีฬาที่ต้องใช้ทุกส่วนของร่างกาย โดยเฉพาะแขน ขา มันไม่ได้เป็นเฉพาะศิลปินการป้องกันตัวเท่านั้น แต่มันคือการเสริมสร้างบุคลิกภาพโดยการฝึกกายและจิต เทควันโดได้เป็นกีฬาทางการในระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ซิดนีย์ในปี 2000
การยิงธนู
การยิงธนู คือประเพณีแห่งศิลปะการต่อสู้และขณะเดียวกันก็เป็นการละเล่น ตั้งแต่ยุคสมัยเกาหลีโบราณ การยิงธนูเป็นการแสดงความสามารถที่สำคัญทีเดียว และได้รับการขนานนามว่าเป็นกีฬาชั้นสูง

ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว

คู่มือข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว

การบริการข้อมูลนักท่องเที่ยว
ท่านสามารถขอข้อมูลและความช่วยเหลือซึ่งพร้อมให้บริการแก่ท่าน ณ ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวของ อ.ส.ท.เกาหลี (TIC-Tourist Information Center) หรือเคาน์เตอร์สำหรับบริการสอบถามข้อมูลในสนามบินนานาชาติต่าง ๆ และสถานท่องเที่ยวขนาดใหญ่ทั้งหลายที่ให้บริการข้อมูลเหล่านี้สามารถจัดหาแผนที่ของเมืองต่าง ๆ หนังสือ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง แหล่งรับประทานอาหาร และที่พัก เวลาทำการของสถานที่เหล่านี้อาจจะแตกต่างกันไปตามเขตต่าง ๆ ทั้งประเทศ แต่ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวกรุงโซลเปิดทุกวัน ตั้งแต่ 9:00 น. ถึง 20:00 น. ดูที่เว็บไซด์ http://www.tout2korea.com
โทรศัพท์สายท่องเที่ยวเกาหลี โทร 1330
ถ้าท่านต้องการความช่วยเหลือหรือข้อมูลการท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษ กรุณากดเลขหมาย 1330 พนักงานรับโทรศัพท์ที่สามารถพูดได้สองภาษาจะให้รายละเอียดข้อมูลเกที่ยวกับการท่องเที่ยวท่านได้ ถ้าท่านต้องการข้อมูลเที่ยวกับเขตอื่น กรุณากดรหัสโทรศัพท์ของเมืองนั้นก่อนกดหมายเลข 1330

โซล 02, อินชน 032, แทจอน 042, พูซาน 051, อุซาน 052, แทกู 053, ควางจู 062, เคียงคีโด 031, คังวอนโด 033, ชุงชองนัมโด 041, ชุงชองบุก-โด 043, เคียงซางนัม-โด 055, เคียงซางบุก-โด 054, ชลลานัมโด 061, ชลลาบุกโด 063, เชจู-โด 064
ศูนย์รับร้องทุกข์ของนักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศเกาหลี ผู้ไม่ได้รับความสะดวกหรือประสงค์ที่จะให้คำแนะนำ กรุณาโทร หรือเขียนถึงศูนย์รับร้องทุกข์ของนักท่องเที่ยว ซึ่งดำเนินการโดยองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติเกาหลี

มัคคุเทศก์เพื่อไมตรีจิต

องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติเกาหลี (KNTO) ให้บริการมัคคุเทศน์เพื่อไมตรีจิตที่ช่วยในการแปลภาษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการแนะนำการท่องเที่ยวฟรี โดยทั่วไปควรจองตั๋งล่วงหน้า การช่วยหรือนี้เป็นประโยชน์มากถ้าท่านต้องการให้ช่วยทุกเรื่องในเกาหลี
Url: http:// www.goodwillguide.com

ขนบธรรมเนียมและประเพณี

การเคารพผู้มีอาวุโส
โครงสร้างทางสังคมแบบขงจื้อที่มีมานานยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น ถึงแม้ว่าเราจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านนี้บ้าง วัยวุฒิและอาวุโสยังมีความหมายมากและผู้เยาว์จะต้องเคารพคำสั่งของผู้อาวุโสโดยปราศจากข้อโต้แย้ง ดังนั้นบ่อยครั้งเราจะถูกถามว่าอายุเท่าใด และถามถึงสถานภาพทางการสมรส (เป็นที่น่าแปลกอยู่ทีเดียวที่ไม่ว่าเราจะอายุมากเพียงใด เราจะไม่ถือเป็นผู้ใหญ่หากเรายังไม่สมรส อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ยึดถือกันในแต่ละครอบครัว) เพื่อจะคะเนถูกถึงความอาวุโสของเราต่อผู้อื่น อย่างไรก็ตามการที่ถูกถามก็มิได้หมายความว่าผู้ถามต้องการล่วงล้ำเข้ามาในโลกส่วนตัวของเรา แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องตอบคำถามนั้นหากเราไม่ต้องการ

ชื่อ
ชาวเกาหลีส่วนใหญ่จะมีชื่อสกุลจำกัดอยู่ในไม่กี่กลุ่มชื่อ เช่น 21% จะมีชื่อสกุลว่า คิม 14% จะมีชื่อสกุลว่า ยี, ลี หรือ รี 8% มีชื่อสกุลว่า ปาร์ค นอกจากนั้นก็มีชื่อสกุลแตกออกไปอีกเช่น ชอย (หรือ แช) เจิง (หรือ ชุง) จาง (หรือ ชาง) ฮัน , ลิม เป็นต้น ชื่อเต็มของชาวเกาหลีก็จะประกอบด้วย ชื่อสกุล 1 พยางค์และชื่อหน้า 2 พยางค์ ชื่อสกุลจะเขียนก่อน สตรีชาวเกาหลีจะไม่เปลี่ยนชื่อสกุลตามคู่สมรส แต่บุตรและธิดาจะใช้ชื่อสกุลของบิดา

การสมรส
ชาวเกาหลีถือว่าการสมรสนั้นเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต และการหย่าร้างถือว่าเป็นความตกต่ำเสียชื่อเสียงไม่เพียงแต่สำหรับคู่สมรสเท่านั้น แต่รวมไปถึงครอบครัวเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม อัตราหย่าร้างในปัจจุบันก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นเร็วพอควร

การประกอบพิธีสมรสในปัจจุบันแตกต่างไปจากในสมัยโบราณ นั่นคือในปัจจุบันนี้พิธีจะเริ่มด้วยแบบทางตะวันตก นั่นคือมีการสวมชุดวิวาห์สีขาวสำหรับเจ้าสาวและทัคซีโดสำหรับเจ้าบ่าว โดยประกอบพิธีในห้องจัดพิธีวิวาห์ หรือในโบสถ์ ต่อมาช่วงบ่ายจะมีพิธีแบบดั้งเดิมในสถานที่ใหม่ด้วยชุดวิวาห์ที่มีสีสันงดงาม

เจเย (พิธีเคารพบูชาบรรพบุรุษ)
ตามหลักความเชื่อดั้งเดิมของเกาหลีนั้น เมื่อบุคคลหนึ่งสิ้นชีวิตลง วิญญาณของเขายังไม่ไปไหน แต่ยังวนเวียนอยู่ใกล้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วคนทีเดียว ในช่วงเวลาอันยาวนานนี้ผู้ตายยังถูกถือว่าเป็นสมาชิกของครอบครัวความสัมพันธ์อันนี้ถูกถ่ายทอดออกมาด้วยพิธีเจเย ซึ่งจัดขึ้นในวันพิเศษต่างๆ
เช่น ซอลัล และชูซก รวมทั้งวันครบรอบวันเสียชีวิตของบรรพบุรุษเหล่านั้น ชาวเกาหลีเชื่อว่าการที่เขามีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขนั้นก็ด้วยพรอันประเสริฐซึ่งบรรพบุรุษให้ไว้นั่นเอง

ภาษากาย
เมื่อต้องการกวักมือเรียกผู้อื่นนั้น ควรคว่ำมือลงและกวักนิ้วเรียกโดยใช้นิ้วชิดกัน การกวักมือเรียกโดยหงายฝ่ามือขึ้นนั้นไม่สุภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้นิ้วกวักเรียก เพราะถือเป็นกิริยาเรียกสุนัข สำหรับชาวเกาหลี
ฮันบก
ฮันบกเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติเกาหลีมาเป็นเวลาพัน ๆ ปีมาแล้ว ความงามและความอ่อนช้อยของวัฒนธรรมเกาหลีจะถูกถ่ายทอดออกมาผ่านทางภาพถ่ายของสุภาพสตรีในเครื่องแต่งกายฮันบกนี้

ก่อนที่วัฒนธรรมการแต่งกายแบบตะวันตกจะได้เข้ามาในเกาหลีเมื่อร้อยปีมาแล้วนั้น หญิงชาวเกาหลีจะสวมชุดฮันบกเป็นปกติทุกวัน ส่วนสุภาพบุรุษจะสวมชอโกรี (เสื้อนอกแบบเกาหลี) และพาจิ (กางเกงขายาว) ในขณะที่สุภาพสตรีสวมชอกอรีและชีมา (กระโปรง) ในปัจจุบันชุดประจำชาติฮันบก จะใช้สวมเฉพาะในโอกาสพิเศษต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส วันซอลลัล (วันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ) หรือวันชูซก (วันขอบคุณพระเจ้า)
อนดอล
ตามประเพณีของเกาหลีนั้นห้องต่าง ๆ จะใช้เพื่อจุดประสงค์หลาย ๆ อย่าง และไม่มีการใช้หรือเรียกห้องตามการใช้งานของมัน เช่น ห้องนอน หรือห้องอาหาร เป็นต้น แต่จะมีการนำโต๊ะและเสื่อเข้าไปไว้ตามห้องต่าง ๆ ตามจุดประสงค์การใช้งาน ประชาชนส่วนใหญ่จะนอนบนเสื่อหนาปูบนพื้น ใต้พื้นห้องจะมีท่อระบายอากาศที่ทำด้วยหินหรือคอนกรีต ในสมัยโบราณลมร้อนจะถูกระบายผ่านช่องเพื่อให้เกิดความร้อน ดินเหนียวและปูนจะถูกนำมาวางบนหิน เพื่อป้องกันผู้อยู่อาศัยมิให้ถูกกระทบด้วยก๊าซพิษ ระบบทำความร้อนใต้พื้นนี้เรียกว่า “อนดอล” ในยุคปัจจุบันใช้ท่อน้ำร้อนให้ไหลผ่านพื้นซีเมนต์ซึ่งคลุมด้วยพรมน้ำมัน

คิมจาง
คิมจางเป็นวิธีการเตรียมผักดองกิมจิในฤดูหนาวของชาวเกาหลีแต่ดั้งเดิม และสืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่นมาหลายชั่วคนแล้ว ในเกาหลีนั้นจะมีผักน้อยประเภทมากและก็ปลูกได้ระหว่าง 3-4 เดือนสุดท้ายของปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีคิมจางช่วงต้นฤดูหนาว เพื่อทำอาหารซึ่งกลายมาเป็นอาหารประจำของชาวเกาหลี โต๊ะอาหารในเกาหลีจะขาดกิมจิไม่ได้เลย

การแพทย์แบบตะวันออก
การแพทย์ตะวันออกถือหลักว่าสาเหตุแห่งโรคคือ พละกำลังที่ถดถอยและภูมิต้านทานที่อ่อนลง ไม่ได้เกี่ยวกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ แต่เป็นการเสียสมดุลของพลังแห่งชีวิตในร่างกายโดยรวม ดังนั้นการแพทย์ตะวันออกจึงใช้วิธีรักษาโดยใช้หลักฟื้นฟูระบบภูมิต้านทานและเสริมสร้างความประสานกลมกลืนของร่างกายโดยรวม มิใช่โดยวิธีกำจัดเชื้อโรค วิธีรักษาแบบตะวันออกมีทั้ง การบริโภคยาสมุนไพร การฝังเข็ม การใช้ลูกประคบ และการบำบัดโดย การคว่ำถ้วยสุญญากาศ

จิตรกรรมแบบดั้งเดิม

จิตรกรรมแบบเกาหลีแตกต่างจากรูปแบบของตะวันตกอย่างสิ้นเชิงด้วยลักษณะลายเส้นและการให้สีซึ่งเป็นแบบฉบับเฉพาะตัวของศิลปะตะวันออก การค้นพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับจิตรกรรมโบราณในสุสานหลวงจากยุคสามอาณาจักร (57 ปีก่อนคริสตศักราช –ค.ศ. 668) ช่วยให้เราสามารถเข้าใจวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น
ต่อมาในสมัยราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด มีงานจิตรกรรมแบบพุทธ และศิลปวัตถุอื่น ๆ เกิดขึ้นมากมายในวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่วนในสมัยราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910) ลัทธิขงจื้อได้กลายเป็นหลักปรัชญาในการบริหารประเทศ บรรดาปัญญาชนในสมัยนั้นจึงผลิตงานศิลปะที่แสดงถึงอิทธิพลของลัทธิขงจื้อและศิลปะแบบจีน ในขณะเดียวกัน จิตรกรรมพื้นบ้านซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่สามัญชนกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดใดความคิดหนึ่ง จึงมีการใช้เทคนิคการเขียนภาพที่เป็นอิสระ แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก รวมทั้งใช้สีสันสดใส เพื่อสื่อถึงพลัง อารมณ์ และความรื่นเริง สำหรับโรงเรียนสอนด้านจิตรกรรมทั้งของแบบเกาหลีและตะวันตกที่เปิดอยู่ในเกาหลีปัจจุบันก็มีผลงานบางชิ้นที่ผสมผสานกัน

เครื่องปั้นดินเผา
ประเทศเกาหลีได้รับเอาศิลปะการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากประเทศจีนเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ศิลปะแขนงนี้ได้เจริญรุ่งเรืองและกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งซึ่งชาวเกาหลีมีความภาคภูมิใจ

เครื่องปั้นดินเผาแบบศิลาดลสีเขียวอมฟ้า ที่มีความสวยงามแบบลึกซึ้งจากราชวงศ์โคเรียว (ค.ศ.918-1392) ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกและเป็นที่ต้องการของผู้ที่นิยมวัตถุโบราณ เช่นเดียวกับเครื่องกระเบื้องสีขาวจากราชวงศ์โชซอน (ค.ศ.1392-1910)

ศิลปะแขนงนี้ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อศิลปะญี่ปุ่นในยุคสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ญี่ปุ่นที่รุกรานประเทศเกาหลีในช่วงปี ทศวรรษ 1950 และทำให้ศิลปะแขนงนี้เจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่นจนถึงทุกวันนี้